หากท่านต้องการให้ทางบริษัทฯทำการออกแบบบ้านใหม่ ท่านสามารถแจ้งวัตถุประสงค์หรือร่างแบบคร่าวๆได้ เพื่อบริษัทจะดำเนินการทำแบบร่าง และราคาเสนอต่อท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อทำการตัดสินใจในการออกแบบอย่างละเอียดต่อไป จึงจะมีการเซ็นสัญญากัน
ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้
1 งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phaze )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2 งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phaze )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3 งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phaze )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว